ประกันภัยภัยรถยนต์แต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร
ประเภท ชั้น 1 / 2+ / 3+ และ ชั้น3  ต่างกันอย่างไร
**ควรทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อประกันภัย
ประกันภัยรถยนต์ แบบไหนที่เหมาะกับคุณ...
กรมธรรม์ภาคสมัครใจ
เป็นการประกันภัยรถยนต์ที่กฎหมายไม่ได้มีการบังคับให้มีการทำประกันภัย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยที่ เล็งเห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตน ณ ปัจจุบันกรมธรรม์ที่ออกสู่ท้องตลาด จะให้ความคุ้มครองโดยแบ่งตามประเภทของกรมธรรม์ ดังต่อไปนี้

กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 1    ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 2 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 3 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาท/อุบัติเหตุแต่ละครั้ง

กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 5 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
ประเภท 5 (2+)
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

ประเภท 5 (3+)
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบก*
 
ข้อมูลอื่นๆที่ควรทราบ

1. เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครองในการเอาประกันภัย

     1.1) กรณีที่แจ้งขอเอาประกันภัยล่วงหน้า ให้ถือว่าบริษัทรับประกันภัยและให้ความคุ้มครองตั้งแต่ เวลา 00.01 น. ของวัน ที่เริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย
 
     1.2) กรณีที่แจ้งขอเอาประกันภัยในวันเดียวกันกับวันที่เริ่มต้นระยะเวลาเอาประกันภัย ให้ถือว่า เวลาที่เริ่มมีผลคุ้มครองคือเวลาที่บริษัทตอบตกลงรับประกันภัย
 
     1.3) เวลาสิ้นสุดความคุ้มครองคือ เวลา 16.30 น.ของวันสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย
 


2. ความคุ้มครองพื้นฐานตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์  ดังกล่าวข้างต้น สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
 
     2.1) ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury : TPBI)
           หมายถึง ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของ ผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ทั้งนี้ จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
               *** บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าวข้างต้นนี้ไม่รวมถึง
          1.  ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ
          2. คู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในทางการที่จ้างของผู้ขับขี่นั้น
 
     2.2) ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage : TPPD)
          หมายถึง ความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่ทรัพยสินของบุคคลภายนอก
               *** ความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
          1. ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ คู่สมรส บิดามารดา บุตร
ของ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม ครอบครอง
          2. เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนาม หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อยู่ใต้สิ่งดังกล่าวอันเกิดจาก
การ สั่นสะเทือน หรือจากน้ำหนักรถยนต์หรือน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์
          3. สัมภาระหรือทรัพย์สินอื่นใดที่นำติดตัวขึ้นบนรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์
หรือกำลังยกขึ้น หรือกำลังยกลงจากรถยนต์
          4. ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์
 
     2.3) ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD)
          หมายถึง ความคุ้มครองความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ตามมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์โดยโรงงานประกอบรถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์
          ** ทั้งนี้ การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจํานวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกวา 80% ของราคารถยนต์ ในวันเริ่มการประกันภัย **

     2.4) ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T)
          หมายถึง ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยที่ถูกไฟไหม้ และการสูญหายรวมถึงความเสียหาย อันเนื่องมาจากการสูญหาย รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ เกิดไฟไหม้หรือสูญหายไป
 
 

3. ความหมาย / รหัสรถยนต์ประเภทต่าง

     3.1) รถที่ใช้ระบุในกรมธรรม์จะมี 3 หลัก
  หลักแรก                     หมายถึง   ชนิดรถ
  หลักสองและสาม       หมายถึง   ลักษณะการใช้รถงานรถยนต์
     
     3.2) หลักแรก หมายถึง
   1  =  รถยนต์นั่ง                        
  2  =  รถยนต์นั่งโดยสาร           
  3  =  รถยนต์บรรทุก                
  4  =  รถยนต์ลากจูง                
  5  =  รถพ่วง
  6  =  รถจักรยานยนต์
  7  =  รถยนต์แท๊กซี่
  8  =  รถยนต์อื่นๆ
 
4. การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัย

     4.1) วันที่ เวลา ที่ระบุไว้ในตาราง 

     4.2) มีการบอกเลิกกรมธรรม์
            4.2.1  บริษัทเป็นผู้บอกเลิก บริษัทประกันภัยบอกเลิกด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัย
            4.2.2 ผู้เอาประกันภัยบอกเลิก สามารถมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ตามอัตราการคืนเบี้ยประกันภยที่ระบุไว้ข้างล่าง
ข้อมูลและภาพประกอบโดย: บริษัท ศรีกรุงโบรคเกอร์ จำกัด
Powered by MakeWebEasy.com